วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราะห์ SWOT ตลาดเม็ดพลาสติกของไทยไปอังกฤษ

    จุดแข็ง (Strengths)
1. เม็ดพลาสติกถือเป็นสินค้าส่งออกสำคัญชนิดหนึ่งของไทย ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น
2. ประเทศไทยมีพื้นที่ใช้สำหรับการผลิตเม็ดพลาสติกมากพอสมควรผู้ผลิต     
3. ผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยใช้เม็ดพลาสติกในประเทศมากถึงประมาณ ร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งหมด ซึ่งจะช่วยลดในเรื่องต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบ
    จุดอ่อน (Weaknesses)
1. ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินโครงการ 65 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไว้ชั่วคราว ทำให้ทิศทางการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทย ณ ขณะนี้อยู่ในภาวะชะงัก

2. แรงงานไทยยังมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการผลิตเม็ดพลาสติกไม่มากนัก
     โอกาส (Opportunities)
1. ปัจจุบันมีเม็ดพลาสติกที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ทำให้ตลาดเม็ดพลาสติกขยายตัวขึ้น
2. เม็ดพลาสติกทั่วโลกมีการขยายตัว ทำให้ไทยมีโอกาสในการส่งออกพิ่มขึ้นด้วย
    อุปสรรค (Threats)
1. ราคาเม็ดพลาสติกในตลาดโลก อาจไม่สามารถปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้มาก  ตามราคาน้ำมันดิบและปริมาณความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น
2. สิงคโปร์ เป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยที่มีความได้เปรียบจากการเป็นศูนย์กลางการกลั่น การเก็บ และการกระจายน้ำมันของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสามของโลกแล้ว

3. เนื่องจากไทยไม่ได้ทำการค้าเสรีกันกับอังกฤษจึงมีเรื่องภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องจึงทำการค้าได้ค่อนข้างยาก

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก

ตลาดสินค้าเม็ดพลาสติกในสหรัฐอเมริกา


     สหรัฐฯ นำเข้าเม็ดพลาสติกรวมเป็นมูลค่า 7,308.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 และมีแหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ แคนาดา เม็กซิโก เยอรมนี ญี่ปุ่น และ จีน โดยมีมีประเภทเม็ดพลาสติกที่สำคัญ ได้แก่ Ethylene, Polyester, Stylene, Vinyl Chloride, Acrylic Polymer, Polymides, และ Silicone เป็นต้น

     สินค้าเม็ดพลาสติกไทยที่มีศักยภาพในสหรัฐฯ ได้แก่ สินค้าเม็ดพลาสติก Polyether มีมูลค่า 27.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 24.58 สินค้าเม็ดพลาสติก Silicone มีมูลค่า 19.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.44 สินค้าเม็ดพลาสติก Styrene มีมูลค่า 8.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.43 สินค้าเม็ดพลาสติก Vinyl Chloride มีมูลค่า 6.04 เหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.68 และ สินค้าเม็ดพลาสติก Cellulose มีมูลค่า 5.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,803.373
      
     เม็ดพลาสติกในกลุ่มเป็นมิตรกับธรรมชาติ (Eco-Friendly Resin) ซึ่งได้แก่ Bio Plastic และ Recycle Plastic เป็นที่นิยมใช้ในสหรัฐฯ และมีความต้องการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ สหรัฐฯ ผลิตเม็ดพลาสติก 2 ชนิดดังกล่าวได้จำนวนมากในประเทศ และมีการนำเข้าจำนวนไม่มากจากประเทศเพื่อนบ้าน และ จากกลุ่มประเทศยุโรปเป็นสำคัญ

แหล่งที่มา  http://www.ryt9.com/s/expd/1029769

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

 ประชากร  และระบบเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษ


              เมืองหลวงของอังกฤษคือเมือง London  มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 49 ล้านคน  พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ราบต่ำ มีพื้นที่ระดับสูงบ้างทางตอนเหนือและตะวันตก เมืองขนาดใหญ่รวมถึง เมือง London (ประมาณ 7.75 ล้านคน) เมือง Birmingham (ประมาณ1.03ล้านคน)และเมืองManchester(ประมาณ431,000คน)
               ระบบเศรษฐกิจอยู่ในอุตสาหกรรมบริการเพิ่มมากขึ้น โดยมี London เป็นผู้นำและศูนย์กลางทางด้านการธนาคาร ประกัน และบริการด้านการเงินอื่นๆชั้นแนวหน้าของโลก และมีอุตสาหกรรมที่ใช้วิทยาการอันทันสมัย มาทดแทนอุตสาหกรรมในรูปแบบเดิมๆมากขึ้น
แหล่งที่มา
http://campus.sanook.com/oversea/england/engliand_00183.php

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
                การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด(Product,Price,Place,Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศบางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆอยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด
แหล่งที่มาของข้อมูล        
www1.webng.com/logisticseminar/

การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน 


เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้า


เข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้า


ออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า 


"ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่างประเทศ เรียกว่า


"ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้วแต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้ง


ประเทศผู้นำสินค้าเข้าและประเทศผู้ส่งสินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะ


ประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน


    สาเหตุที่มีการค้าระหว่างประเทศ


เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกัน ที่


สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
    

 1.ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องมาจาก


ความแตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศไทยมี
   
     2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของ


แต่ละประเทศจะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ


บริการแตกต่างกันบางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการ


ผลิตสินค้าบางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิต


เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการ


ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญ


ในการผลิตนาฬิกา ความแตกต่างของปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละ


ประเทศเล็งเห็นประโยชน์จากการเลือกผลิตสินค้าบางอย่างที่มีต้นทุนต่ำมี


ความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแตะละประเภทที่ผู้บริโภคใน


ประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงเกิน


ไปและปัจจัยเหล่านี้ก้อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น


พื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมัน


มากกว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มี


ทรัพยากรชนิดใดมากก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการ


ผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยน กับสินค้าอื่น    


แหล่งที่มาข้อมูล
http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_8307.html
ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ
          การตลาดระหว่างประเทศ คือธุรกิจจะทำการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้สามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด โดยการศึกษาและสำรวจถึงความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มตลาดเป้าหมายของตลาดประเทศที่ธุรกิจจะทำการตลาดเพื่อที่จะตอบสนองได้ตรงความต้องการของตลาดแต่ละประเทศ
                แต่ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศจะมุ่งเน้นที่การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง กัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง